SPECIAL
My First Osaka

ย่านคิเระ/ฮิราโนะ ภาค 1
สัมผัสประสบการณ์ของชาและตัวอักษรที่วัดในฮิราโนะโอซาก้า
รองเจ้าอาวาสชาวรัสเซีย! สงบจิตใจ

ภาพถ่ายที่ระลึกกับรองเจ้าอาวาสชาวรัสเซีย คุณโวลโคโกนอฟ ที่วัดเนียวกันจิในโอซาก้า

2023.11.17

สวัสดีครับ! ผมชื่อนาซู ชาวเกาหลีใต้ที่มาญี่ปุ่นด้วยเวิร์คกิ้งฮอลิเดย์ ผมชอบญี่ปุ่นและเรียนภาษาญี่ปุ่นโดยการดูรายการทีวีของญี่ปุ่นบน YouTube ตอนนี้ทำงานอยู่ที่โรงแรมในนัมบะ

ที่โรงแรมมักจะได้ยินจากนักท่องเที่ยวว่าพวกเขาต้องการสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นจริงๆ อยู่บ่อยๆ จึงเป็นเหตุผลที่ผมอยากจะลองสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง จึงได้เดินทางไปวัดที่สามารถสัมผัสประการณ์ของชาญี่ปุ่นและการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันกับจีวอนจังชาวเกาหลีใต้ที่มาญี่ปุ่นด้วยเวิร์คกิ้งฮอลิเดย์เหมือนกัน

นาซูคุง

จีวอนจัง

รองเจ้าอาวาสเป็นชาวรัสเซีย ชื่อคุณโวลโคโกนอฟ

รองเจ้าอาวาสชาวรัสเซีย คุณโวลโคโกนอฟ ที่วัดเนียวกันจิในโอซาก้า

สถานที่ที่จะไปกัน คือ สถานีคิเระอุริวาริ บน Osaka Metro สายทานิมาจิ ที่โด่งดังเรื่องชื่อสถานีที่อ่านยาก ซึ่งวัดเนียวกันจินั้นอยู่ห่างจากที่นี่โดยใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาที ที่น่าสนใจคือรองเจ้าอาวาสของที่นี่เป็นชาวรัสเซีย♪ เท่ห์มาก!!

มีความรู้สึกใกล้ชิดกันเล็กน้อยเพราะท่านเป็นคนที่ย้ายมาจากต่างประเทศ แต่บรรยากาศที่ให้ความรู้สึกสุภาพและสง่างามนั้นดูเป็นคนญี่ปุ่นมากเลย

“วัดเนียวกันจิ” ในเขตฮิราโนะโอซาก้า

วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าชายโชโตกุและโคโบไดชิ ซึ่งนอกจากจะสามารถเข้าพักแบบเทราฮากุได้แล้ว ยังสามารถสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรม อย่างพิธีชงชา, การคัดลอกพระสูตร/การลอกลายภาพพระพุทธเจ้า, การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กัน และปั้นเครื่องปั้นดินเผาได้อีกด้วย

ครั้งนี้ ได้มาลองสัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาที่ถึงแม้จะเป็นครั้งแรกก็สามารถเพลิดเพลินได้ รวมถึงการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติ!

สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชา! ศิลปะแบบบูรณาการที่เพลิดเพลินด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

ห้องหนังสือของวัดเนียวกันจิในโอซาก้า

ก่อนอื่น เริ่มต้นด้วยการไปที่ห้องหนังสือและนั่งแบบเซสะ

รองเจ้าอาวาสสามารถพูดทั้งภาษารัสเซีย ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และจะช่วยแนะนำคุณด้วยภาษาตามที่คุณต้องการ ผมเลือกภาษาญี่ปุ่นมากกว่าภาษาอังกฤษ และจีวอนจังก็กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ด้วย จึงเลือกเป็นภาษาญี่ปุ่นกัน

เรา 2 คนที่กำลังนั่งแบบเซสะที่ห้องหนังสือของวัดเนียวกันจิในโอซาก้า

พอถูกถามว่า “นั่งแบบเซสะได้ไหม?” ถึงจะรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจ แต่ก็ตัดสินใจที่จะพยายามนั่งแบบเซสะกัน แต่ถ้าหากไม่ถนัดนั่งแบบเซสะ ก็ไม่ต้องกังวลเพราะจะมีเก้าอี้เตรียมให้

ม้วนหนังสือแขวนประดับผนังที่ห้องหนังสือของวัดเนียวกันจิในโอซาก้า

พิธีชงชาเป็นวัฒนธรรมที่เพลิดเพลินกับฤดูกาล ซึ่งจะแสดงถึงฤดูกาลผ่านทางม้วนหนังสือแขวนประดับผนัง, ดอกไม้ และถ้วยชา ฯลฯ ภายในห้อง แต่ละชิ้นมีความหมายมากกว่าแค่การเป็นของตกแต่งห้อง

รองเจ้าอาวาส คุณโวลโคโกนอฟ แห่งวัดเนียวกันจิ กำลังอธิบายพิธีชงชา

ท่านตั้งใจอธิบายเกี่ยวกับหัวใจของ “วาบิ-ซาบิ” ที่ได้ยินเป็นครั้งแรกให้พวกเราเข้าใจ

หากอธิบายให้เข้าใจง่าย “วาบิ-ซาบิ” หมายถึงจิตสำนึกในความงดงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวญี่ปุ่น เช่น การรับรู้ถึงความงดงามซึ่งเกิดจากกาลเวลาที่ผ่านไปและลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตนที่สงบเรียบง่าย รวมถึงเสน่ห์ในความไม่สมบูรณ์แบบ

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาที่วัดเนียวกันจิ

แม้ว่าเราจะไม่ค่อยพูดคุยกันมากนักในพิธีชงชา แต่ก็มีการสื่อสารทางจิตใจระหว่างพวกเราซึ่งเป็นแขก และรองเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเจ้าภาพ

ในสถานที่แห่งนี้ ผู้คนดื่มชาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานะทางสังคม และเพลิดเพลินไปกับพื้นที่แห่งนี้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, รสชาติ ไปจนถึงความอบอุ่นของถ้วยชา เป็นวัฒนธรรมที่ยอดเยี่ยมสมกับคำว่า “ศิลปะบูรณาการ” อย่างแท้จริง

ประทับใจกับชาและขนมหวานแสนอร่อย ที่ทานด้วยความเงียบสงบ!

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาที่วัดเนียวกันจิ

ในที่สุด ก็ถึงเวลาดื่มชากันแล้ว

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาที่วัดเนียวกันจิ

เมื่อชาถูกนำมาตรงหน้าแล้ว ให้นำมาไว้ด้านหน้าของตนเอง

หากเริ่มดื่มก่อนคนที่อยู่ด้านข้าง ให้พูดว่า “โอซาคินิ” จากนั้นจึงพูดว่า “โอะเทมาเอะ โจไดอิตาชิมัส” แล้วหมุนถ้วยชาสองรอบตามเข็มนาฬิกา

ได้รับการสอนว่าทุกการเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งนั้น จะต้องใส่ใจและคำนึงถึงอีกฝ่าย

ชาเขียวมัทฉะและขนมญี่ปุ่นที่วัดเนียวกันจิ

ขนมหวานที่เสิร์ฟก่อนน้ำชาก็สื่อถึงฤดูกาล ซึ่งวันนี้ได้เป็นขนมหวานสีชมพูน่ารักรูปดอกคอสมอส มันสวยงามมากจนรู้สึกเสียดายที่ต้องกิน

สุดท้าย ยังได้ลองสัมผัสประสบการณ์ชงชาเองด้วยนะ และรองเจ้าอาวาสท่านก็สอนว่า “ให้ร่ายมนต์ จงอร่อยเดี๋ยวนี้!” จึงได้เห็นด้านที่ขี้เล่นของท่านด้วย♪

สัมผัสประสบการณ์ชงชาเขียวมัทฉะที่วัดเนียวกันจิ

ถึงแม้จะตื่นเต้นที่ได้สัมผัสฉะเซ็นที่ชงชาเป็นครั้งแรก แต่ก็รู้สึกดีที่ได้เพลิดเพลินกับชาแบบนี้ หลังจากที่จดจ่อแล้วพอจะยืนขึ้น ก็รู้สึกโอ๊ย ขาขยับไม่ได้ เจ็บ

นี่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่รู้สึกเหน็บชาไม่มีความรู้สึกเพราะนั่งแบบเซสะ ซึ่งก็นับเป็นช่วงเวลาที่ดีมากเหมือนกัน

สัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กัน! หยิบพู่กันที่ไม่ได้ถือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา แล้วไปลองกัน

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันที่วัดเนียวกันจิ

ต่อไป จะมาเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันจากรองเจ้าอาวาสซึ่งมีใบรับรองการเป็นอาจารย์กัน ดูเหมือนจีวอนจังจะเพิ่งเรียนจากคุณป้าเพื่อนของเธอ แต่ผมไม่ได้หยิบพู่กันเลยตั้งแต่สมัยประถมศึกษา จึงรู้สึกกังวลว่าจะเขียนได้ดีมั้ย 💦

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันที่วัดเนียวกันจิ

ขั้นแรก เริ่มจากการเรียนรู้ท่าทางในการประดิษฐ์ตัวอักษรและวิธีถือพู่กัน และฝึกการเขียนเส้นแนวนอนกับอาจารย์ เริ่มจากการยกพู่กันเพื่อเริ่มเขียน แล้วค่อยๆ ผ่อนแรง จากนั้นกดพู่กันในลำดับสุดท้าย รู้สึกยากเหมือนกัน ไม่รู้ว่าค่อยๆ เขียนดีขึ้นบ้างหรือเปล่า…

ต่อไป ก็ฝึกเขียนเส้นแนวตั้ง และเขียนอักษร “人” ถึงจะมีแค่ 2 เส้น แต่เต็มไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ สงสัยจะงานยากเหมือนกัน

ผมกำลังพยายามอย่างเต็มที่ ขณะที่เห็นจีวอนจังเก่งขึ้นเรื่อยๆ…

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันที่วัดเนียวกันจิ

สุดท้าย ก็เลือกตัวอักษรที่ตนเองชอบแล้วเขียนใหม่ให้สวยบนกระดาษแข็งสำหรับเขียนพู่กัน จีวอนจังเลือกตัวอักษร “奥” ส่วนผมเลือก “勇” และเขียนด้วยความตั้งใจ

บรรยากาศการสัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันที่วัดเนียวกันจิ

ถึงจะตื่นเต้นและรู้สึกเขินเล็กน้อยกับการเขียนลงกระดาษแข็งสำหรับเขียนพู่กัน แต่ก็สามารถนำไปประดับได้ อีกทั้งยังเป็นความทรงจำที่ดีอีกด้วย!

รองเจ้าอาวาสท่านสอนสิ่งที่สำคัญมากว่า “หากค่อยๆ เขียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง จะต้องพัฒนาอย่างแน่นอน และผลงานที่เขียนด้วยความใส่ใจนั้น จะมีพลังที่จะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาได้”

หนังสือที่เขียนจากการสัมผัสประสบการณ์ประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันที่วัดเนียวกันจิ

ถึงจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ได้ใช้เวลาอันแสนพิเศษด้วยความรู้สึกเต็มอิ่มจริงๆ แม้ว่าในทุกวันจะเดินทางไปมาย่านการค้าที่คึกคักอยู่เป็นประจำก็ตาม แต่ประสบการณ์นี้ทำให้รู้สึกอยากที่จะให้ความสำคัญกับช่วงเวลาสงบจิตใจในความเงียบสงบเช่นกัน

เรา 2 คนที่กำลังเดินในบริเวณวัดเนียวกันจิ

การสัมผัสประสบการณ์ในครั้งนี้ใช้ 2,000 เยนต่อคน (รวมภาษี) สำหรับพิธีชงชา และ 2,000 เยนต่อคน (รวมภาษี) สำหรับการประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กัน โดยแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีให้สัมผัสประสบการณ์คัดลอกพระสูตร/ลอกลายภาพพระพุทธเจ้า และปั้นเครื่องปั้นดินเผาอีกด้วย จึงขอแนะนำให้ท่านที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น โปรดลองติดต่อวัดเนียวกันจิ

ถึงจะสามารถจองได้โดยดูที่โฮมเพจ หากไม่ถนัดภาษาญี่ปุ่น ก็สามารถโทรหาได้โดยตรง และจะได้รับการต้อนรับเป็นภาษาอังกฤษ จึงขอแนะนำให้นักท่องเที่ยวจากนอกประเทศญี่ปุ่นมาลองสัมผัสประสบการณ์นี้ดูเช่นกัน!

หลังจากนี้ เราจะไปสนุกสนานในเมืองและกินอุด้งแสนอร่อยกัน โปรดติดตามตอนต่อไป!

จุดท่องเที่ยวที่เคยแนะนำ

วัดเนียวกันจิ

[เส้นทางการเดินทาง] เดินประมาณ 7 นาทีจากทางออกหมายเลข 3 “สถานีคิเระอุริวาริ” สายทานิมาจิ